วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล Database Management System

ระบบแฟ้มข้อมูล File System

องค์กรส่วนใหญ่มีการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในลักษณะแฟ้มข้อมูล โดยได้ทำการเก็บข้อมูลทีละระบบหรือหน่วยงาน ดังนั้น ระบบข้อมูลขององค์กรในแต่ละระบบจึงเป็นอิสระต่อกัน ทำให้แต่ละระบบหรืหน่วยงานมีข้อมูลของตนเองโดยไม่เชื่อมโยงกัน ซึ่งสถานการณ์นี้เรียกว่า การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล

ปัญหาแฟ้มข้อมูล
• ความซ้ำซ้อนของข้อมูล
• ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
• ขาดความยืดหยุ่น
• ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล
• ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของข้อมูล

ปัญหาแฟ้มข้อมูล
• ข้อมูลมีความสัมพันธ์ลักษณะขึ้นต่อกันกับโปรแกรม
• ข้อมูลแยกอิสระต่อกัน
• ขาดการใช้ข้อมูลร่วมต่อกัน

ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล Databases Management

ประเภทของ DBMS

DBMS มีหลายประเภท ตั้งแต่เป็นโปรแกรมที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ จนถึงโปรแกรมที่ใช้กับเมนเฟรมนอกจากข้อมูลที่จัดการโดย DBMS ยังสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นรูปกราฟฟิค เสียง และรูปภาพได้

ส่วนประกอบของ DBMS
ส่วนประกอบของ DBMS มี 4 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. โมเดลของข้อมูล
2. ภาษาคำกำจัดความข้อมูล
3. ภาษาในการจัดการข้อมูล
4. พจนานุกรมข้อมูล

องค์ประกอบของฐานข้อมูล

องค์ประกอบของฐานข้อมูลขึ้นอยู่กับมุมมองของการสร้างข้อมูล และมุมมองในลักษณะโครงสร้างลำดับชั้นของข้อมูล
ซึ่งมี 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบฐานข้อมูลโดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
2. องค์ประกอบฐานข้อมูลพิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับชั้น

1.องค์ประกอบฐานข้อมูลโดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
• เอนติตี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่ต้องการเก็บข้อมูล
• ลักษณะเฉพาะของเอนติตี้ คือลักษณะของเอนตอตี้ที่ต้องการเก็บข้อมูล เช่น เอนตอตี้ของนักศึกษาประกอบด้วย คือ รหัสนักศึกษา ,ชื่อ, สกุล, คณะ, กลุ่ม ฯลฯ
• ระเบียนหรือเรคคอร์ด คือ ชุดของลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับเอนติตี้หนึ่ง ๆ ซึ่งจะใช้ในการประมวลผลด้วยกัน
• แฟ้มข้อมูล ประกอบด้วยเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กันหลาย ๆ อัมมารวมกัน
• ฐานข้อมูล ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน

2.องค์ประกอบฐานข้อมูลพิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับชั้น
• บิต เป็นตัวแทนของหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล ที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์
• ไบต์ เป็นตัวอักษรหรือตัวเลขหรือสัญลักษณ์ 1 ตัว บางครั้งอาจจะเรียกว่าอักขระ
• ฟิลด์ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในลำดับขั้นข้อมูลที่มนุษย์สามารถแปลความหมายได้ เกิดจากการนำอักขระหลาย ๆ ตัวมารวมกัน ทำให้มีความหมายหรือเป็นคำขึ้นมา
• ระเบียนหรือเรคคอร์ด เป็นการรวมกลุ่มฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกันอย่างมีความหมาย
• ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเรคคอร์ดหลาย ๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวพันกันมารวมกัน
• ฐานข้อมูล ประกอบด้วยหลาย ๆ ไฟล์ที่เกี่ยวพันกันมารวมกัน

ความสัมพันธ์ของข้อมูล
ความสัมพันธ์ของข้อมูลแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1. ความสัมพันธ์แบบ One to One คือความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ตัว ที่มีลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือข้อมูลตัวหนึ่ง จะมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอีกตัวหนึ่งได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น
2. ความสัมพันธ์แบบ One to Many คือความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลตัวหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง
3. ความสัมพันธ์แบบ Many to Many คือความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลหนึ่งมีหลายค่า และมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง

ประเภทของการออกแบบฐานข้อมูล
1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีลักษณะเป็นลำดับชั้นคล้ายคลึงกับความสัมพันธ์ของโครงสร้างสายการบังคับบัญชาที่พบในองค์ทั่วไปโดยมีลำดับชั้นลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้น ๆ ข้อมูล ที่ใช้ฐานข้อมูลลำดับชั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบ one to one หรือ one to many เท่านั่น
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย คล้ายกับฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่ข้อมูลมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ many to many เท่านั่น
3. ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ ใช้ตารางเพื่อเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียน ตารางเหล่านี้เรียกว่า ตารางความสัมพันธ์ การออกแบบ
ฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์จะประกอบด้วยตารางที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักหลาย ๆ ตาราง แต่ละแถวแนวนอนเรียกว่า row ในตารางจะบรรจุข้อมูลเป็นชุด ๆ เรียกว่า record ข้อมูล 1 ชนิดในแต่ละชุดเรียกว่า field

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของแรม (RAM) , ประเภทของรอม(Rom)

ประเภทของแรม (RAM)

ย่อมาจาก Ramdom Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องมีความเร็วในการทำงานสูงแต่มีข้อเสียคือ สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ขณะที่เปิดเครื่องอยู่เท่านั้น ถ้าปิดเครื่องข้อมูลก็จะหายไป แรมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
SRAM ทำจากทรานซิสเตอร์ กินไฟมากมีความเร็วสูง แต่เนื่องจากมีราคาแพงมาก จึงมักใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคชสำหรับเมนบอร์ด และซีพียู
DRAM เป็นหน่วยความจำที่สร้างขึ้นโดยใช้สถานะ “มีประจุ” และ“ไม่มีประจุ” เป็นหลักในการเก็บข้อมูลซึ่งกินไปน้อยและราคาถูกกว่า SRAM จึงนิยมนำมาใช้ทำเป็นหน่วยความจำ หลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานของDRAM จะต้องทาการเติมประจุตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหายไปเรียกว่าการ “Refresh” แรมที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์คือ DRAM ซึ่งมีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กัน
มี 2 แบบคือ EDO DRAM และ SDRAM
EDO DRAM เป็น DRAM ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นนิยมใช้ในเครื่องรุ่น 486, Pentium
SDRAM เนื่องจากEDO RAM ไม่สามารถทำงานได้ที่ความถี่เกินกว่า 66 MHz ดังนั้นในเครื่องที่ใช้ซีพียูรุ่นใหม่ที่ใช้ความถี่บัสเป็น 100 – 133 MHz จึงหันมาใช้ SDRAM แทน เพราะสามารถทำงานร่วมกับซีพียูได้เร็วกว่าทำให้ซีพียูไม่ต้องรอคอยการทำงานของแรมอีกต่อไปเรียกว่าภาวะ “Wait State”
ในปัจจุบันแทนที่จะบอกความเร็วของ SDRAM หรือที่เรียกกันว่า access time ว่าเป็นกี่ ns
( 1 ns = 1 / 1,000 วินาที ) กลับแสดงออกมาเป็นความเร็วของระบบบัสแทนเช่น PC – 66, PC – 100, PC – 133 หมายถึงมีความเร็วเท่ากับระบบบัส 66 , 100 และ 133 MHz ตามลำดับ

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำชั่วคราว โดยจะเป็นที่พักข้อมูลในการทำงานแต่ละขั้นตอน เช่น การอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ไปพักไว้ที่แรมก่อนที่จะแสดงผลออกทางจอภาพ หรือพักข้อมูลไว้ในการสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ หรืออาจจะใช้งานหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน
ชนิดของแรม
แรมมีความจุเป็นไบท์ และมีหลายประเภทมีการพัฒนาทั้งทางด้านความเร็วหลายประเภทมีการพัฒนาทั้งทางด้านความเร็ว และความจุดังนี้
๑. DRAM เป็นแรมที่มีความเร็ว และความจุน้อยที่สุด
๒. EDO RAM พัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการแสดงผลทางด้านกราฟฟิค และถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับเครื่องระดับ Penrium ใช้กับเมนบอร์ดซ็อกเก็ต 7 โดยใช้กับช่องเสียบในแบบ SIMM ที่มีหน้าที่สัมผัสด้านเดียว จึงต้องใส่เป็นคู่
๓. SDRAM เป็นหน่วยความจำที่ทำงานเร็วกว่าและมีช่องสัญญาณ มากกว่า DRAM และ EDO RAM ออกแบบมาให้ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นสล็อต 1 และซ็อกเก็ต 7 บางรุ่นโดยใช้กับช่องเสียบในแบบ DIMM ที่มีหน้าสัมผัส 2 หน้า จึงใส่ที่ละแผงได้
๔. DDR SDRAM เป็นแรมที่พัฒนามาจาก SDRAM เพื่อให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
๕. RDRAM เป็นแรมแบบใหม่ที่มีความเร็วสูง ที่คาดว่าจะเข้ามาแทนที่ SDRAM แต่จะต้องใช้กับช่องเสียบในแบบ RIMM ด้วย
จำนวนจุดต่อของแรม ซึ่งในการผลิตครั้งแรก ๆ จะมีลักษณะเป็นขาเสียบ ต่อมาได้ยกเลิก
แล้วใช้เป็นแบบหน้าสัมผัส แต่ก็ยังเรียกเหมือนกัน
SIMM RAM จะมีจุดต่อ 30 และ 72 PIN
EDO RAM จะมีจุดต่อ 72 PIN
SDRAM จะมีจุดต่อ 168 PIN
ในปัจจุบันเมนบอร์ดจะถูกออกแบบมาให้ใช้กับ SDRAM เพียงอย่างเดียว แต่ SDRAM แต่ละรุ่นจะมีความสามารถในการทำงานไม่เท่ากัน คือ
PC66 คือ SDRAM ที่สามารถทำงานได้ถึงความเร็วสูงสุด 66 MHz.
PC100 คือ SDRAM ที่สามารถทำงานได้ถึงความเร็วสูงสุด 100 MHz.
PC133 คือ SDRAM ที่สามารถทำงานได้ถึงความเร็วสูงสุด 133 MHz

ประเภทของรอม(Rom)

หน่วยความจำประเภทนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ภายในจะถูกโปรแกรมมาจากโรงงานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไอซี เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเหมาะสำหรับงานที่ผลิตครั้งละมากๆ ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ ROM ประเภทนี้มีทั้งแบบไบโพลาร์และแบบ MOS

PROM (Programmable ROM)จากไอซี ROM แบบแรกการโปรแกรมข้อมูลจะต้องโปรแกรมมาจากโรงงาน และต้องผลิตจำนวนมากจึงจะคุ้มค่ากับต้นทุนในการผลิต อีกทั้งโรงงานผู้ผลิตไอซีจะรู้ข้อมูลที่เก็บอยู่ด้วย สำหรับระบบดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ที่ผลิตออกมาจำนวนไม่มากและต้องการใช้หน่วยความจำ ROM สามารถนำหน่วยความจำ ROM มาโปรมแกรมเองได้ โดยหน่วยความจำนี้จะเรียกว่า PROM ( Programmable Read Only Memory ) หน่วยความจำประเภทนี้ เซลล์เก็บข้อมูลแต่ละเซลล์จะมีฟิวส์ ( fused ) ต่ออยู่ เป็นหน่วยความจำที่ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE PULSED ) ไอซี PROM ที่ยังไม่ถูกโปรแกรมนั้น ข้อมูลทุกเซลล์หรือทุกบิตจะมีค่าเท่ากันหมด คือ มีลอจิกเป็น 1 แต่เมื่อได้มีการโปรแกรมโดยป้อนแรงดันไฟสูงๆเข้าไปจะทำให้เซลล์บางเซลล์ฟิวส์ขาดไป ทำให้ตำแหน่งที่เซลล์นั้นต่ออยู่มีลอจิกเป็น 0 เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก เนื่องจากฟิวส์ที่ขาดไปแล้วไม่สามารถต่อได้ หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ

EPROM (Erasable Programmable ROM)หน่วยความจำประเภท EPROM เป็นหน่วยความจำประเภท PROM ที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมข้อมูลใหม่ได้ เหมาะสำหรับงานสร้างวงจรต้นแบบที่อาจต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือข้อมูลใหม่ ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE SIGNAL ) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM หน่วยความจำประเภทนี้มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ลบข้อมูลด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกกันว่า UV PROM ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นหน่วยความจำที่ลบข้อมูลด้วยไฟฟ้า เรียกว่า EEPROM ย่อมาจาก Electrical Erasable PROM

หน่วยความจำประเภท UV PROM การโปรแกรมทำได้โดยการป้อนค่าแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมเข้าไป และข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ตลอดไป สำหรับการลบข้อมูลทำได้ด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในตัว ไอซี โดยผ่านทางช่องใสที่ทำด้วยผลึกควอตซ์ที่อยู่บนตัวไอซี เมื่อฉายแสงครู่หนึ่ง ( ประมาณ 5 - 10 นาที ) ข้อมูลที่อยู่ภายในก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลาที่ฉายแสงนี้สามารถดูได้จากข้อมูลที่กำหนด ( DATA SHEET ) มากับตัว EPROM

หน่วยความจำประเภท EEPROM แม้ว่าจะลบและโปรแกรมข้อมูลได้ด้วยกระแสไฟฟ้าซึ่งสะดวกในการใช้งาน แต่ความเร็วในการอ่าน และเขียนข้อมูลจะไม่เร็วเท่าที่ควร

แหล่งที่มา

http://www.thainame.net/project/th_name/coms16.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น Introductionto Internet

การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น Introductionto Internet
ความหมายอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเพื่อให้คอมพิวเตอร์
ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

พัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
เกิดขึ้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตีทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร จึงมีแนวความคิดในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA(Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลองระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network)และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรกโดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์

การทำงานของอินเตอร์เน็ต
มีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร

ชนิดของโปรโตคอล
- Tcp/IP :ใช้เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลได้
- HTIP :ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในรูปของ World Wide Web เชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในรูปของ Hypertext
- File Transfer Protocol :ใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั่น
- Pop3 :ใช้ในการรับ-ส่ง E-mail

URL
เป็นรูปแบบการระบุตำแหน่งหรือที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตโดย URL แบ่งได้เป็น 3 ส่วนย่อยๆ ดังนี้
- Protocol สำหรับระบุถึงโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารของเว็บไซต์
- Domain name ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บไฟล์
- File Locate ส่วนนี้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์ที่อยู่ในเว็บไซต์

คำศัพท์เกี่ยวกับเว็บไซต์มูล
- เว็บไซต์ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อผสมต่าง ๆ ( รูปภาพ,เสียง,ข้อความ )
ของแต่ละบริษัทหน่วยงานหรือบุคคลแหล่งข้อมูลที่บรรจุอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- เว็บเพจ หน้าที่แสดงเอกสารเนื้อของเว็บไซต์ ของเอกสารแต่ละหน้า
- โฮมเพจ หน้าแรกของเว็บไซต์ หรือ ปกของหนังสือ

บริการโอนย้ายไฟล์
1. Web directory
2. Search Engine

การเชื่อมต่อเข้าสู้อินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่อส่วนบุคคล
- การเชื่อมต่อแบบ Cooperate

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปแบบการสื่อสารข้อมูลอย่างง่าย


องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล

• ข้อมูล/ข่าวสาร (Message)
• ผู้ส่งสาร (Sender/Source)
• ผู้รับข้อมูล (Receiver/Destination)
• ตัวกลางในการส่งข้อมูล (Transmission Medium)
• โปรโตรคอล (Protocal)

การสื่อสารคมนาคม

• โทรคมนาคม หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
• ปัจจุบันการถ่ายทอดสัญญาณส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม

• เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล
• เครื่องเทอร์มินิลสำหรับการรับหรือแสดงข้อมูล
• ช่องทางสื่อสาร
• อุปกรณ์สื่อสาร
• ซอฟต์แวร์สื่อสาร

เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล (เครื่องแม่ข่าย)

 Web Server
 Mail Server
 Proxy Server
 DNS Server
 DHCP Server
 Data Base Server
 Applicatio Server
 Map Server

ประเภทของสัญญาณ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.สัญญาณอันอนาล็อก (Analog signal)
2.สัญญาณดิจิทัล (Digital signal)

ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร

 ช่องสื่อสาร (Communnication channels) หมายถึง รูปแบบใด ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือข่ายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง

สื่อนำสัญญาณ ประเภทสาย

 UIP : ต่อสายได้ไม่เกิน 100 เมตร ใช้หัว RJ-45
 STP : มีฟรอยหุ้ม
 COAXIAL : เชื่อต่อได้ไกล , ป้องกันสัญญาณรบกวน
 FIBER OPTIC : มีอัตราค่าลดทอนสัญญาณต่ำ

สื่อนำสัญญาณ ประเภทไร้สาย

 MICROWAVE
 SATELLITE
 WI-FI
 INFRARED
 BRUTHOOD

ความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล

 ปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านช่องสื่อสารใดๆ มีหน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที
 ช่วงคลื่นสัญญาณที่รวมกันอยู่ในช่องสื่อสารหนึ่งช่อง เรียกว่าความกว้างของช่องสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อแตกต่างระหว่าง Google Maps และ Google Earth

การใช้งานแผนที่ (Google Maps)

AtSiam (แอทสยาม) ใช้แผนที่ของ Google maps เพื่อแสดงว่าแต่ล่ะโรงแรมนั้นตั้งอยู่ที่ใด และด้วยความสามารถของ Google maps ในแอทสยามคุณสามารถ:

•ระบุที่ตั้งของโรงแรมได้เที่ยงตรงมากขึ้นในสัดส่วนที่ถูกต้อง
•ค้นหาโรงแรมที่อยู่ใกล้เคียง
•ตรวจสอบเส้นทางจากสนามบินหรือสถานที่อื่นๆ (แม้แต่ที่อยู่ของคุณเอง) ไปยังโรงแรม


มุมมองหลักของแผนที่


•แผนที่
แสดงเส้นทาง ถนน แม่น้ำ เส้นแบ่งเขต ชื่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ฯลฯ เหมาะสำหรับดูเส้นทางขับรถ หมายเลขทางหลวง ภาพรวมของแผนที่ทั้งหมด
•ดาวเทียม
แสดงภาพถ่ายทางอากาศ เหมาะสำหรับดูภาพสถานที่จริงระยะใกล้ เช่น ตัวเมือง ตลาด จุดสนใจสำคัญๆ เพื่อหาตำแหน่งที่ถูกต้อง

หมายเหตุ
บางตำแหน่งจะไม่สามารถขยายได้ในระยะใกล้ได้ และข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมอาจจะไม่ใช่ภาพปัจจุบันแต่เป็นภาพที่ถ่ายมาแล้ว 1-3 ปี
•แบบผสม
แสดงแผนที่ในมุมมองแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศรวมกัน
•พื้นดิน
แสดงพื้นที่ในมุมมอง 3 มิติ (ต้องติดตั้ง Google Earth)

มุมมองอื่นๆ ของแผนที่


•รูปภาพ
•วีดีโอ
•วิกิพีเดีย
•เว็บแคม
•การจราจร (เฉพาะกรุงเทพฯ)

นอกจากนั้นยังสามารถตรวจสอบเส้นทางจากตำแหน่งใดๆ ก็ได้โดยค้นหาจากช่อง "แนะนำเส้นทาง"


เมื่อกำหนดจุดแล้วจะได้เส้นทางบนแผนที่พร้อมคำอธิบายดังรูป


สาเหตุที่เลือก Application
Google Maps เพราะ Google Maps สามารถค้นหาเส้นทางการเดินทางที่ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุด

ข้อดี
1.ผู้ใช้ Google Maps สามารถเลือกเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
2.ผู้ใช้ Google Maps เพียงแค่พิมพ์ที่อยู่หรือชื่ออาคาร ผู้ใช้ก็จะไปยังปลายทางที่ต้องการ
3.ผู้ใช้ Google Maps สามารถค้นหาองค์กรธุรกิจ โดยเพียงแค่พิมพ์ชื่อหรือประเภทธุรกิจ รายชื่อองค์กรธุรกิจ พร้อมสถานที่ตั้ง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และแม้กระทั่งเว็บไซต์ขององค์กรนั้นๆ ก็จะปรากฏขึ้น

ข้อเสีย
คือต้องดาวน์โหลดข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตอยู่เหมือนเดิม

โปรแกรมอื่น ที่มีการทำงานคล้ายกันกับ Application
Google Earth สามารถหาพื้นที่ฐานข้อมูลจำนวนมากที่มีข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย สร้างโลกแบบ 3D หรือแผนที่แบบ 2D สำหรับข้อมูลพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั้งหมด สามารถสร้างแท็บการค้นหาที่กำหนดเองเพื่อสำรวจลักษณะเฉพาะหรือฐานข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ความแตกต่าง ระหว่าง Google Maps และ Google Earth
Google Maps จะเป็นการหาเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือสามารถค้นหาองค์กรธุรกิจ โดยเพียงแค่พิมพ์ชื่อหรือประเภทธุรกิจ รายชื่อองค์กรธุรกิจ พร้อมสถานที่ตั้ง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และแม้กระทั่งเว็บไซต์ขององค์กรนั้นๆ ก็จะปรากฏขึ้น

Google Earth จะเป็นการหาพื้นที่ฐานข้อมูลจำนวนมากที่มีข้อมูลด้านภูมิศาสตร์

แหล่งที่มา

http://www.atsiam.com/th/help/faq_topic_6/faq_763.asp

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการทำภาพจิ๊กซอร์ Photoshop

ขั้นตอนที่ 1 เปิดภาพที่ต้องการใส่ทำเป็นภาพจิ๊กซอร์เข้ามาใน Photoshop โดยไปที่เมนูบาร์ แล้วเลือก File --> Open


ขั้นตอนที่ 2 ใช้พาเล็ต Layers ทำการคัดลอก Layers โดยการคลิกค้างที่ Layer แล้วทำการลากมาวางที่ตำแหน่งที่ 2 หรืออาจใช้วิธีคลิกขวาที่เลเยอร์ เลือก Duplicate Layer.. ซึ่งจะทำให้มีเลเยอร์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 เลเยอร์


ขั้นตอนที่ 3
คลิกที่เลเยอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ แล้วทำการเปิดใช้งานพาเล็ต Styles โดยการเลือกคลิก Style ที่ตำแหน่งที่ 3 (หากไม่มี พาเล็ต Styles สามารถเรียกใช้โดยใช้คำสั่ง Window --> Styles)


ขั้นตอนที่ 4 ปรับค่า Opacity ของเลเยอร์ที่ 2 ให้เหลือ 50%


ขั้นตอนที่ 5 ถึงขั้นตอนนี้บนภาพชิ้นงานของคุณก็จะมีลักษะเป็นเหมือนจิ๊กซอว์ แต่ยังไม่สวยงาม เพราะขนาดของจิ๊กซอว์ไม่สมดุลย์กับภาพ ให้ทำการ ดับเบิ้ลคลิกที่เลเยอร์ที่ 2 จะปรากฏไดอะล็อกบอกซ์ของ Layer Style ให้กำหนดค่าต่าง ๆ ดังภาพ


เมื่อคลิก Ok คุณก็จะได้ภาพจิ๊กซอว์ดังภาพ




วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ


เว็บของคนไทย , เว็บไซต์ต่างประเทศ

เว็บในประเทศ

www.dailnew.co.th
เป็น เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ด้านในเว็บไซต์จะมีทั้งข่าวที่เกี่ยวกับข่าวกีฬา ข่าววาไรตี้ ข่าวอสังริมทรัพย์ ข่าวนิติวิทย์ ข่าวบันเทิง


www.yumyai.com
เป็น เว็บไซต์ด้านวาไรตี้ นานาสาระทั้งข่าวและบันเทิง อีกทั้งยังมีให้ฟัง วิทยุ เพลง สามารถดูคลิปวิดีโอ มิวสิควิดีโด หรือภาพยนตร์ และสามารถเล่นเกมส์ก็ยังได้ด้วย


www.postjung.com

เป็น เว็บไซต์ที่ให้คนไทยได้ไปโพสต์ทั้งข้อความ รูปภาพ และยังสามารถโพสต์อีเมลเพื่อหาเพื่อน ได้ด้วย ด้านในก็ยังมีเกมส์ให้เล่น ดูวิดีโอ ดูหนัง ดูทีวี ฟังเพลง


www.kodsana.com
เป็นสื่อกลางในการค้นหาข้อมูลของผู้ซื้อและผู้ขาย โดยแยกเป็นหมวดหมู่


http://www.khonthai.com/TH/
ค้นหาข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ >>รายละเอียดเขตประกอบการอุตสาหกรรม ... พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


เว๊บไซต์ต่างประเทศ

http://www.whatis.com
เว็บ นี้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีเอ็นไซโคพีเดีย คำจำกัดความ/หัวข้อเรื่อง และเพจสำหรับอ้างอิงรวดเร็วมากกว่า 2,000 เพจ เว็บนี้มีหัวข้อเรื่องต่าง ๆ


http://www.warnerbros.com/
เว็บนี้เป็นเว็บของค่ายวอร์เนอร์ บราเธอร์ที่คุ้นเคยกัน เป็นค่ายที่มีการสร้างงานเพลง ดนตรี และภาพยนตร์ รวมถึงการ์ตูนด้วย


http://www.webopaedia.com
เป็น เว็บเอ็นไซโคพีเดียและเสิร์ชเอ็นจินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่ง คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยใช้คีย์เวิร์ดหรือไประเภท ไซต์นี้ได้แบ่งหัวข้อต่าง ๆ


http://www.sonymusic.com/
เป็น เว็บดนตรีของค่ายเพลงโซนี่ ซึ่งจะนำคุณไปพบกับโลกแห่งเสียงเพลงหลากหลายสไตล์ และเรื่องราวชองศิลปินในค่าย ๆ มีการนำเสนอข่าวคราวที่น่าสนใจต่าง ๆ ของวงการเพลง การออกอัลบั้มใหม่ และหาตารางการทัวร์คอนเสิร์ตของนักร้องที่คุณชื่นชอบได้อีกด้วย


http://www.techweb.com/
เป็นเว็บที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับไอทีและวิวัฒนาการใหม่ ๆ ต่าง ๆ คุณจะได้พบกับข่าวสารของโลกคอมพิวเตอร์ที่ทันต่อเหตุการณ์ การใช้เทคโนโลยีในระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ บทความต่าง ๆ เกี่ยวกับแวดวงอินเตอร์เน็ต





ตัวอักษรเด่งๆ ด้วยโปรแกรม flash


1. สร้างเอกสารใหม่ใน flash ขนาด 400×300 px แล้วกำหนดค่า frame rate เป็น 30


animation flash

2. นำรูปพื้นหลังมา โดยการไปที่ file – import -import to stage(ctrl+r)
3. สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ใช้ชื่อว่า text


flash animation

4. และพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป


flash animation

5. นำเมาส์ไปคลิกเลือกที่ตัวอักษรก่อน 1 ทีแล้วกด ctrl+b(Break Apart) จะได้ตามรูปตัวอย่าง


flash letter animation

6. ไปที่เมนู midify – timeline – distribute to layers แล้วตัวหนังสือจะหายออกไป แลจะมีเลเยอร์เพิมมาแทน


flash text animation

7. ไปเลือกเลเยอร์ตัวอักษร แล้วกด F8 เพื่อ Convert to Symbol ทำแบบนี้จนครบทุกตัวอักษร โดยตรง name ตั้งชื่อห้ามซ้ำกัน


flash text animation

8. กด F6 ที่เฟรม 5 และเฟรม 10ในเลเยอร์ ของตัวอักษร


flash text animation

9. ไปที่เฟรม5 แล้วก็นำเมาส์ไปคลิก1 ที ที่ตัวอักษร แล้วขยับตัวอักษรขึ้นเล็กน้อย


flash text animation

10. นำเมาส์ไว้วางไว้ตรงกลางระหว่างเฟรม1- 5 กับเฟรม 5-10 แล้วก็คลิกขวาเลือก create motion tween


flash text animation

11. ไปที่เลเยอร์ตัวอักษรตัวที่ 2 แล้วไปคลิกเพิ่มคีย์เฟรม F6 ที่เฟรม 10 15 20 แล้วไปที่เฟรม 15 นำเมาส์ไปคลิกลากให้ตัวอักษรลอยขึ้นมานิดนึ่ง


flash text animation

12. คลิกขวาระหว่างเฟรม 10-15 และก็ 15-20 คลิกขวาเลือก create motion tween


flash text animation

13. ทำแบบขั้นตอนที่ 11 โดยเปลี่ยนจากเลเยอร์ของตัวอักษรไปเรื่อยๆ โดยเฟรมแรกที่เลือกจะเพิ่มไปทีละ 5เฟรม โดยจะต่อกับเลเยอร์ด้านบน


flash text animation

14. ทำตามขั้นตอนที่ 12 โดยการเปลี่ยนไปตามเฟรมที่ 13
15. ทำจนครบที่เลเยอร์


flash text animation

16. ไปที่เฟรม 145 กด F7 ของทุกเลยเยอร์


flash text animation

17. ย้ายเลเยอร์ background ที่เราใส่รูปพื้นหลังลงไปให้มาอยู่ด้านล่างสุด
จากนั้นก็ดูผล ctrl+enter

แหล่งอ้างอิง
http://www.sadung.com/?p=4374

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

อยู่ในปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

มาร์ค วัน


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

จานแม่เหล็ก


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง

วงจรรวม


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็ก


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

คอมพิวเตอร์ AI


วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างของคอมพิวเตอร์

โครงสร้างคอมพิวเตอร์





การประมวลผลคำสั่งของ CPUหลังจากคำสั่งและข้อมูลอยู่ในหน่วยความจำแล้ว CPU ก็จะทำการประมวลผลที่ละคำสั่ง ใน 4 ขั้นตอนดังนี้



ขั้นตอนการทำงานของ CPU

• จากโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของคำสั่งที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล แต่ละคำสั่งประกอบด้วย รหัสให้ทำงาน ( OperationCode)หรือ ออปโค้ด (Opcode) เช่น ADD (การบวก) SUB (การลบ)MUL (การคูณ) DIV (การหาร) และสิ่งที่เรียกว่า โอเปอแรนต์ (Operand)ซึ่งจะบอกตำแหน่งของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำ เช่น สัญลักษณ์ Aหรือ B

ภาพแสดงขั้นตอนการทำงานของ CPU


ขั้นตอนการทำงานของ CPU และความสัมพันธ์ในการใช้ Resistor


ขั้นตอนการประมวลผลของ CPU

• การเฟตช์ (Fetch) เป็นกระบวนการที่หน่วยควบคุม (CU) ไปนำคำสั่งที่ต้องการใช้จากหน่วยความจำมาเพื่อการประมวลผลมาเก็บไว้ที่ Register
• การแปลความหมาย ( Decode ) เป็นกระบวนการถอดรหัสหรือแปลความหมายคำสั่งต่างๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะเพื่อดำเนินการต่อไป
• การเอ็กซ์คิวต์ ( Execute ) เป็นกระบวนประมวลผลคำสั่งโดยหน่วยคำนวณและตรรกะ ซึ่งการประมวลผลจะประมวลผลทีละคำสั่ง
• การจัดเก็บ ( Store ) เป็นกระบวนการจัดเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลและจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือรีจิสเตอร์


วัฏจักรการทำงานของซีพียู หรือวัฏจักรเครื่อง (Machine Cycle)



Machine Cycle & การประมวลผลคำสั่งโปรแกรม

• วัฏจักรคำสั่ง Instruction Cycle (I-cycle) l fetch instruction - control unit รับคำสั่งจากแรม l decode instruction - control unit แปลความหมายคำสั่งโปรแกรม และเก็บส่วนที่เป็น คำสั่ง ของคำสั่งโปรแกรมไว้ใน Instruction Register & เก็บส่วนที่เป็นแอดเดรส ของคำสั่งโปรแกรมไว้ใน Address Register

เวลาที่ใช้ในการแปลคำสั่ง (Instruction Time)

เวลาทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
•การแปลคำสั่ง (fetch and decode) และการประมวลผลคำสั่ง(execute and store)
•เวลาที่ใช้แปลคำสั่งเรียกว่า instruction time.


วัฏจักรการประมวลผล Execut ed Cycle (E-cycle) execute instruction - ย้ายข้อมูลที่จะประมวลผลจาก RAM ไปเก็บไว้ใน Storage Register แล้ว ALU ปฏิบัติตามคำสั่งโปรแกรม store results - ALU เก็บผลลัพธ์ในรีจีสเตอร์/แรม

เวลาที่ใช้ในการประมวลผล เรียกว่า E xecution time



เวลาที่ใช้ประมวลผลแต่ละคำสั่ง (Machine Cycle) The combination of I-time and E-time is called the machine cycle



หน่วยวัดความเร็วของซีพียู

• เมกะเฮิรตซ์ ( Megahertz: MHz ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูในไมโครคอมพิวเตอร์ หรือ Clock Speed ที่มีความเร็วหนึ่งล้านวัฏจักรเครื่องต่อวินาที ( Millions machine cycle per second )

• มิปส์ ( Million of Instructions Per Second: MIPS ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูของคอมพิวเตอร์ขนาดกลางขึ้นไปโดย 1 MIPS จะสามารถประมวลผลได้หนึ่งล้านคำสั่งต่อวินาที ( Million of Instructions Per Second: MIPS )

• ฟลอปส์ ( Floating Point Operations Per Second: FLOPS ) เป็นหน่วยวัดความเร็วของซีพียูในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักวัดความสามารถในการปฏิบัติการคำนวณทางคณิตศาสตร์แบบทศนิยมหรือ Floating Point

รูปแบบการประมวลผลของซีพียู

1. การประมวลผลแบบเดี่ยว ( Single processing) หรือ Sequential Processing เป็นการประมวลผลข้อมูลตามลำดับ เนื่องจากมีซีพียูทำงานเพียงตัวเดียว ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การประมวลผลข้อมูลล่าช้า

2. การประมวลผลแบบขนาน ( Parallel processing) เป็นการใช้ซีพียูมากกว่า 1 ตัว ( Multiple Processors ) ในการประมวลผลงานๆ หนึ่งพร้อมกัน ดังภาพ


รูปแบบในการส่งข้อมูล (transmission mode)

การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม

การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิต


รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต

การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ดังรูป


ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม

การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้


ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก

2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง


จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้ัรับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต

หน่วยความจำ

คือ หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง หน่วยความจำ ชนิดนี้จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และมีกระแสไฟฟ้า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลาง นำข้อมูลมาเก็บ และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะการเก็บข้อมูล

1.หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory)
คือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้ กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด

2. หน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory)คือ หน่วยความจำเก็บข้อมูลได้ โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร

แบ่งตามสภาพการใช้งาน

1. หน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว
ไม่สามารถเขียนลงไปได้ เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่นเก็บโปรแกรมควบคุม การจัดการพื้นฐานของระบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ (bios)

2. หน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้
การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้ เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็น หน่วยความจำแบบลบเลือนได้เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถนำโปรแกรม และข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก หรือหน่วยความจำรองมาบรรจุไว้ หน่วยความจำแรมนี้ต่างจากรอมที่สามารถเก็บข้อมูลได้

หน่วยความจำเป็บแรมที่ใช้อยู่สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM)
DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ ( Capacitor ) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูลให้คงอยู่ โดยการ refresh นี้ ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล

2. Static Random Access Memory (SRAM)
จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM จะต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ และจะไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมัน ก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงกว่ามาก จึงเป็นข้อด้อย

3.น่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory)
หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่ง และข้อมูลระหว่าง การทำงาน เพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น

แหล่งอ้างอิง
http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g129/K2.htm
http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/storage.htm