วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล Database Management System

ระบบแฟ้มข้อมูล File System

องค์กรส่วนใหญ่มีการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในลักษณะแฟ้มข้อมูล โดยได้ทำการเก็บข้อมูลทีละระบบหรือหน่วยงาน ดังนั้น ระบบข้อมูลขององค์กรในแต่ละระบบจึงเป็นอิสระต่อกัน ทำให้แต่ละระบบหรืหน่วยงานมีข้อมูลของตนเองโดยไม่เชื่อมโยงกัน ซึ่งสถานการณ์นี้เรียกว่า การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล

ปัญหาแฟ้มข้อมูล
• ความซ้ำซ้อนของข้อมูล
• ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
• ขาดความยืดหยุ่น
• ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล
• ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของข้อมูล

ปัญหาแฟ้มข้อมูล
• ข้อมูลมีความสัมพันธ์ลักษณะขึ้นต่อกันกับโปรแกรม
• ข้อมูลแยกอิสระต่อกัน
• ขาดการใช้ข้อมูลร่วมต่อกัน

ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล Databases Management

ประเภทของ DBMS

DBMS มีหลายประเภท ตั้งแต่เป็นโปรแกรมที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ จนถึงโปรแกรมที่ใช้กับเมนเฟรมนอกจากข้อมูลที่จัดการโดย DBMS ยังสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นรูปกราฟฟิค เสียง และรูปภาพได้

ส่วนประกอบของ DBMS
ส่วนประกอบของ DBMS มี 4 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. โมเดลของข้อมูล
2. ภาษาคำกำจัดความข้อมูล
3. ภาษาในการจัดการข้อมูล
4. พจนานุกรมข้อมูล

องค์ประกอบของฐานข้อมูล

องค์ประกอบของฐานข้อมูลขึ้นอยู่กับมุมมองของการสร้างข้อมูล และมุมมองในลักษณะโครงสร้างลำดับชั้นของข้อมูล
ซึ่งมี 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบฐานข้อมูลโดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
2. องค์ประกอบฐานข้อมูลพิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับชั้น

1.องค์ประกอบฐานข้อมูลโดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
• เอนติตี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่ต้องการเก็บข้อมูล
• ลักษณะเฉพาะของเอนติตี้ คือลักษณะของเอนตอตี้ที่ต้องการเก็บข้อมูล เช่น เอนตอตี้ของนักศึกษาประกอบด้วย คือ รหัสนักศึกษา ,ชื่อ, สกุล, คณะ, กลุ่ม ฯลฯ
• ระเบียนหรือเรคคอร์ด คือ ชุดของลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับเอนติตี้หนึ่ง ๆ ซึ่งจะใช้ในการประมวลผลด้วยกัน
• แฟ้มข้อมูล ประกอบด้วยเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กันหลาย ๆ อัมมารวมกัน
• ฐานข้อมูล ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน

2.องค์ประกอบฐานข้อมูลพิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับชั้น
• บิต เป็นตัวแทนของหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล ที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์
• ไบต์ เป็นตัวอักษรหรือตัวเลขหรือสัญลักษณ์ 1 ตัว บางครั้งอาจจะเรียกว่าอักขระ
• ฟิลด์ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในลำดับขั้นข้อมูลที่มนุษย์สามารถแปลความหมายได้ เกิดจากการนำอักขระหลาย ๆ ตัวมารวมกัน ทำให้มีความหมายหรือเป็นคำขึ้นมา
• ระเบียนหรือเรคคอร์ด เป็นการรวมกลุ่มฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกันอย่างมีความหมาย
• ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเรคคอร์ดหลาย ๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวพันกันมารวมกัน
• ฐานข้อมูล ประกอบด้วยหลาย ๆ ไฟล์ที่เกี่ยวพันกันมารวมกัน

ความสัมพันธ์ของข้อมูล
ความสัมพันธ์ของข้อมูลแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1. ความสัมพันธ์แบบ One to One คือความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ตัว ที่มีลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือข้อมูลตัวหนึ่ง จะมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอีกตัวหนึ่งได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น
2. ความสัมพันธ์แบบ One to Many คือความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลตัวหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง
3. ความสัมพันธ์แบบ Many to Many คือความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลหนึ่งมีหลายค่า และมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง

ประเภทของการออกแบบฐานข้อมูล
1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีลักษณะเป็นลำดับชั้นคล้ายคลึงกับความสัมพันธ์ของโครงสร้างสายการบังคับบัญชาที่พบในองค์ทั่วไปโดยมีลำดับชั้นลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้น ๆ ข้อมูล ที่ใช้ฐานข้อมูลลำดับชั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบ one to one หรือ one to many เท่านั่น
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย คล้ายกับฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่ข้อมูลมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ many to many เท่านั่น
3. ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ ใช้ตารางเพื่อเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียน ตารางเหล่านี้เรียกว่า ตารางความสัมพันธ์ การออกแบบ
ฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์จะประกอบด้วยตารางที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักหลาย ๆ ตาราง แต่ละแถวแนวนอนเรียกว่า row ในตารางจะบรรจุข้อมูลเป็นชุด ๆ เรียกว่า record ข้อมูล 1 ชนิดในแต่ละชุดเรียกว่า field

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของแรม (RAM) , ประเภทของรอม(Rom)

ประเภทของแรม (RAM)

ย่อมาจาก Ramdom Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องมีความเร็วในการทำงานสูงแต่มีข้อเสียคือ สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ขณะที่เปิดเครื่องอยู่เท่านั้น ถ้าปิดเครื่องข้อมูลก็จะหายไป แรมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
SRAM ทำจากทรานซิสเตอร์ กินไฟมากมีความเร็วสูง แต่เนื่องจากมีราคาแพงมาก จึงมักใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคชสำหรับเมนบอร์ด และซีพียู
DRAM เป็นหน่วยความจำที่สร้างขึ้นโดยใช้สถานะ “มีประจุ” และ“ไม่มีประจุ” เป็นหลักในการเก็บข้อมูลซึ่งกินไปน้อยและราคาถูกกว่า SRAM จึงนิยมนำมาใช้ทำเป็นหน่วยความจำ หลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานของDRAM จะต้องทาการเติมประจุตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหายไปเรียกว่าการ “Refresh” แรมที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์คือ DRAM ซึ่งมีหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กัน
มี 2 แบบคือ EDO DRAM และ SDRAM
EDO DRAM เป็น DRAM ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นนิยมใช้ในเครื่องรุ่น 486, Pentium
SDRAM เนื่องจากEDO RAM ไม่สามารถทำงานได้ที่ความถี่เกินกว่า 66 MHz ดังนั้นในเครื่องที่ใช้ซีพียูรุ่นใหม่ที่ใช้ความถี่บัสเป็น 100 – 133 MHz จึงหันมาใช้ SDRAM แทน เพราะสามารถทำงานร่วมกับซีพียูได้เร็วกว่าทำให้ซีพียูไม่ต้องรอคอยการทำงานของแรมอีกต่อไปเรียกว่าภาวะ “Wait State”
ในปัจจุบันแทนที่จะบอกความเร็วของ SDRAM หรือที่เรียกกันว่า access time ว่าเป็นกี่ ns
( 1 ns = 1 / 1,000 วินาที ) กลับแสดงออกมาเป็นความเร็วของระบบบัสแทนเช่น PC – 66, PC – 100, PC – 133 หมายถึงมีความเร็วเท่ากับระบบบัส 66 , 100 และ 133 MHz ตามลำดับ

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำชั่วคราว โดยจะเป็นที่พักข้อมูลในการทำงานแต่ละขั้นตอน เช่น การอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ไปพักไว้ที่แรมก่อนที่จะแสดงผลออกทางจอภาพ หรือพักข้อมูลไว้ในการสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ หรืออาจจะใช้งานหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน
ชนิดของแรม
แรมมีความจุเป็นไบท์ และมีหลายประเภทมีการพัฒนาทั้งทางด้านความเร็วหลายประเภทมีการพัฒนาทั้งทางด้านความเร็ว และความจุดังนี้
๑. DRAM เป็นแรมที่มีความเร็ว และความจุน้อยที่สุด
๒. EDO RAM พัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการแสดงผลทางด้านกราฟฟิค และถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับเครื่องระดับ Penrium ใช้กับเมนบอร์ดซ็อกเก็ต 7 โดยใช้กับช่องเสียบในแบบ SIMM ที่มีหน้าที่สัมผัสด้านเดียว จึงต้องใส่เป็นคู่
๓. SDRAM เป็นหน่วยความจำที่ทำงานเร็วกว่าและมีช่องสัญญาณ มากกว่า DRAM และ EDO RAM ออกแบบมาให้ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นสล็อต 1 และซ็อกเก็ต 7 บางรุ่นโดยใช้กับช่องเสียบในแบบ DIMM ที่มีหน้าสัมผัส 2 หน้า จึงใส่ที่ละแผงได้
๔. DDR SDRAM เป็นแรมที่พัฒนามาจาก SDRAM เพื่อให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
๕. RDRAM เป็นแรมแบบใหม่ที่มีความเร็วสูง ที่คาดว่าจะเข้ามาแทนที่ SDRAM แต่จะต้องใช้กับช่องเสียบในแบบ RIMM ด้วย
จำนวนจุดต่อของแรม ซึ่งในการผลิตครั้งแรก ๆ จะมีลักษณะเป็นขาเสียบ ต่อมาได้ยกเลิก
แล้วใช้เป็นแบบหน้าสัมผัส แต่ก็ยังเรียกเหมือนกัน
SIMM RAM จะมีจุดต่อ 30 และ 72 PIN
EDO RAM จะมีจุดต่อ 72 PIN
SDRAM จะมีจุดต่อ 168 PIN
ในปัจจุบันเมนบอร์ดจะถูกออกแบบมาให้ใช้กับ SDRAM เพียงอย่างเดียว แต่ SDRAM แต่ละรุ่นจะมีความสามารถในการทำงานไม่เท่ากัน คือ
PC66 คือ SDRAM ที่สามารถทำงานได้ถึงความเร็วสูงสุด 66 MHz.
PC100 คือ SDRAM ที่สามารถทำงานได้ถึงความเร็วสูงสุด 100 MHz.
PC133 คือ SDRAM ที่สามารถทำงานได้ถึงความเร็วสูงสุด 133 MHz

ประเภทของรอม(Rom)

หน่วยความจำประเภทนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ภายในจะถูกโปรแกรมมาจากโรงงานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไอซี เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเหมาะสำหรับงานที่ผลิตครั้งละมากๆ ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้ ROM ประเภทนี้มีทั้งแบบไบโพลาร์และแบบ MOS

PROM (Programmable ROM)จากไอซี ROM แบบแรกการโปรแกรมข้อมูลจะต้องโปรแกรมมาจากโรงงาน และต้องผลิตจำนวนมากจึงจะคุ้มค่ากับต้นทุนในการผลิต อีกทั้งโรงงานผู้ผลิตไอซีจะรู้ข้อมูลที่เก็บอยู่ด้วย สำหรับระบบดิจิตอลหรือคอมพิวเตอร์ที่ผลิตออกมาจำนวนไม่มากและต้องการใช้หน่วยความจำ ROM สามารถนำหน่วยความจำ ROM มาโปรมแกรมเองได้ โดยหน่วยความจำนี้จะเรียกว่า PROM ( Programmable Read Only Memory ) หน่วยความจำประเภทนี้ เซลล์เก็บข้อมูลแต่ละเซลล์จะมีฟิวส์ ( fused ) ต่ออยู่ เป็นหน่วยความจำที่ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE PULSED ) ไอซี PROM ที่ยังไม่ถูกโปรแกรมนั้น ข้อมูลทุกเซลล์หรือทุกบิตจะมีค่าเท่ากันหมด คือ มีลอจิกเป็น 1 แต่เมื่อได้มีการโปรแกรมโดยป้อนแรงดันไฟสูงๆเข้าไปจะทำให้เซลล์บางเซลล์ฟิวส์ขาดไป ทำให้ตำแหน่งที่เซลล์นั้นต่ออยู่มีลอจิกเป็น 0 เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก เนื่องจากฟิวส์ที่ขาดไปแล้วไม่สามารถต่อได้ หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ

EPROM (Erasable Programmable ROM)หน่วยความจำประเภท EPROM เป็นหน่วยความจำประเภท PROM ที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมข้อมูลใหม่ได้ เหมาะสำหรับงานสร้างวงจรต้นแบบที่อาจต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือข้อมูลใหม่ ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง ( HIGH VOLTAGE SIGNAL ) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM หน่วยความจำประเภทนี้มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ลบข้อมูลด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกกันว่า UV PROM ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นหน่วยความจำที่ลบข้อมูลด้วยไฟฟ้า เรียกว่า EEPROM ย่อมาจาก Electrical Erasable PROM

หน่วยความจำประเภท UV PROM การโปรแกรมทำได้โดยการป้อนค่าแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมเข้าไป และข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ตลอดไป สำหรับการลบข้อมูลทำได้ด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลตเข้าไปในตัว ไอซี โดยผ่านทางช่องใสที่ทำด้วยผลึกควอตซ์ที่อยู่บนตัวไอซี เมื่อฉายแสงครู่หนึ่ง ( ประมาณ 5 - 10 นาที ) ข้อมูลที่อยู่ภายในก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลาที่ฉายแสงนี้สามารถดูได้จากข้อมูลที่กำหนด ( DATA SHEET ) มากับตัว EPROM

หน่วยความจำประเภท EEPROM แม้ว่าจะลบและโปรแกรมข้อมูลได้ด้วยกระแสไฟฟ้าซึ่งสะดวกในการใช้งาน แต่ความเร็วในการอ่าน และเขียนข้อมูลจะไม่เร็วเท่าที่ควร

แหล่งที่มา

http://www.thainame.net/project/th_name/coms16.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น Introductionto Internet

การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น Introductionto Internet
ความหมายอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันเพื่อให้คอมพิวเตอร์
ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้

พัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
เกิดขึ้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตีทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร จึงมีแนวความคิดในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA(Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลองระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network)และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรกโดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์

การทำงานของอินเตอร์เน็ต
มีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร

ชนิดของโปรโตคอล
- Tcp/IP :ใช้เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลได้
- HTIP :ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในรูปของ World Wide Web เชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในรูปของ Hypertext
- File Transfer Protocol :ใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั่น
- Pop3 :ใช้ในการรับ-ส่ง E-mail

URL
เป็นรูปแบบการระบุตำแหน่งหรือที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตโดย URL แบ่งได้เป็น 3 ส่วนย่อยๆ ดังนี้
- Protocol สำหรับระบุถึงโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารของเว็บไซต์
- Domain name ชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บไฟล์
- File Locate ส่วนนี้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์ที่อยู่ในเว็บไซต์

คำศัพท์เกี่ยวกับเว็บไซต์มูล
- เว็บไซต์ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อผสมต่าง ๆ ( รูปภาพ,เสียง,ข้อความ )
ของแต่ละบริษัทหน่วยงานหรือบุคคลแหล่งข้อมูลที่บรรจุอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- เว็บเพจ หน้าที่แสดงเอกสารเนื้อของเว็บไซต์ ของเอกสารแต่ละหน้า
- โฮมเพจ หน้าแรกของเว็บไซต์ หรือ ปกของหนังสือ

บริการโอนย้ายไฟล์
1. Web directory
2. Search Engine

การเชื่อมต่อเข้าสู้อินเตอร์เน็ต
- การเชื่อมต่อส่วนบุคคล
- การเชื่อมต่อแบบ Cooperate

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปแบบการสื่อสารข้อมูลอย่างง่าย


องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล

• ข้อมูล/ข่าวสาร (Message)
• ผู้ส่งสาร (Sender/Source)
• ผู้รับข้อมูล (Receiver/Destination)
• ตัวกลางในการส่งข้อมูล (Transmission Medium)
• โปรโตรคอล (Protocal)

การสื่อสารคมนาคม

• โทรคมนาคม หมายถึง การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
• ปัจจุบันการถ่ายทอดสัญญาณส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง

องค์ประกอบของระบบสื่อสารโทรคมนาคม

• เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล
• เครื่องเทอร์มินิลสำหรับการรับหรือแสดงข้อมูล
• ช่องทางสื่อสาร
• อุปกรณ์สื่อสาร
• ซอฟต์แวร์สื่อสาร

เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล (เครื่องแม่ข่าย)

 Web Server
 Mail Server
 Proxy Server
 DNS Server
 DHCP Server
 Data Base Server
 Applicatio Server
 Map Server

ประเภทของสัญญาณ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.สัญญาณอันอนาล็อก (Analog signal)
2.สัญญาณดิจิทัล (Digital signal)

ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสาร

 ช่องสื่อสาร (Communnication channels) หมายถึง รูปแบบใด ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งในระบบเครือข่ายไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง

สื่อนำสัญญาณ ประเภทสาย

 UIP : ต่อสายได้ไม่เกิน 100 เมตร ใช้หัว RJ-45
 STP : มีฟรอยหุ้ม
 COAXIAL : เชื่อต่อได้ไกล , ป้องกันสัญญาณรบกวน
 FIBER OPTIC : มีอัตราค่าลดทอนสัญญาณต่ำ

สื่อนำสัญญาณ ประเภทไร้สาย

 MICROWAVE
 SATELLITE
 WI-FI
 INFRARED
 BRUTHOOD

ความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล

 ปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านช่องสื่อสารใดๆ มีหน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที
 ช่วงคลื่นสัญญาณที่รวมกันอยู่ในช่องสื่อสารหนึ่งช่อง เรียกว่าความกว้างของช่องสื่อสาร