วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล Database Management System

ระบบแฟ้มข้อมูล File System

องค์กรส่วนใหญ่มีการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในลักษณะแฟ้มข้อมูล โดยได้ทำการเก็บข้อมูลทีละระบบหรือหน่วยงาน ดังนั้น ระบบข้อมูลขององค์กรในแต่ละระบบจึงเป็นอิสระต่อกัน ทำให้แต่ละระบบหรืหน่วยงานมีข้อมูลของตนเองโดยไม่เชื่อมโยงกัน ซึ่งสถานการณ์นี้เรียกว่า การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล

ปัญหาแฟ้มข้อมูล
• ความซ้ำซ้อนของข้อมูล
• ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล
• ขาดความยืดหยุ่น
• ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล
• ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของข้อมูล

ปัญหาแฟ้มข้อมูล
• ข้อมูลมีความสัมพันธ์ลักษณะขึ้นต่อกันกับโปรแกรม
• ข้อมูลแยกอิสระต่อกัน
• ขาดการใช้ข้อมูลร่วมต่อกัน

ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล Databases Management

ประเภทของ DBMS

DBMS มีหลายประเภท ตั้งแต่เป็นโปรแกรมที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ จนถึงโปรแกรมที่ใช้กับเมนเฟรมนอกจากข้อมูลที่จัดการโดย DBMS ยังสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นรูปกราฟฟิค เสียง และรูปภาพได้

ส่วนประกอบของ DBMS
ส่วนประกอบของ DBMS มี 4 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. โมเดลของข้อมูล
2. ภาษาคำกำจัดความข้อมูล
3. ภาษาในการจัดการข้อมูล
4. พจนานุกรมข้อมูล

องค์ประกอบของฐานข้อมูล

องค์ประกอบของฐานข้อมูลขึ้นอยู่กับมุมมองของการสร้างข้อมูล และมุมมองในลักษณะโครงสร้างลำดับชั้นของข้อมูล
ซึ่งมี 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบฐานข้อมูลโดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
2. องค์ประกอบฐานข้อมูลพิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับชั้น

1.องค์ประกอบฐานข้อมูลโดยพิจารณาจากการสร้างฐานข้อมูล
• เอนติตี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่ต้องการเก็บข้อมูล
• ลักษณะเฉพาะของเอนติตี้ คือลักษณะของเอนตอตี้ที่ต้องการเก็บข้อมูล เช่น เอนตอตี้ของนักศึกษาประกอบด้วย คือ รหัสนักศึกษา ,ชื่อ, สกุล, คณะ, กลุ่ม ฯลฯ
• ระเบียนหรือเรคคอร์ด คือ ชุดของลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับเอนติตี้หนึ่ง ๆ ซึ่งจะใช้ในการประมวลผลด้วยกัน
• แฟ้มข้อมูล ประกอบด้วยเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กันหลาย ๆ อัมมารวมกัน
• ฐานข้อมูล ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน

2.องค์ประกอบฐานข้อมูลพิจารณาจากโครงสร้างข้อมูลตามลำดับชั้น
• บิต เป็นตัวแทนของหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล ที่ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์
• ไบต์ เป็นตัวอักษรหรือตัวเลขหรือสัญลักษณ์ 1 ตัว บางครั้งอาจจะเรียกว่าอักขระ
• ฟิลด์ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในลำดับขั้นข้อมูลที่มนุษย์สามารถแปลความหมายได้ เกิดจากการนำอักขระหลาย ๆ ตัวมารวมกัน ทำให้มีความหมายหรือเป็นคำขึ้นมา
• ระเบียนหรือเรคคอร์ด เป็นการรวมกลุ่มฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกันอย่างมีความหมาย
• ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเรคคอร์ดหลาย ๆ เรคคอร์ดที่เกี่ยวพันกันมารวมกัน
• ฐานข้อมูล ประกอบด้วยหลาย ๆ ไฟล์ที่เกี่ยวพันกันมารวมกัน

ความสัมพันธ์ของข้อมูล
ความสัมพันธ์ของข้อมูลแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1. ความสัมพันธ์แบบ One to One คือความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ตัว ที่มีลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือข้อมูลตัวหนึ่ง จะมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอีกตัวหนึ่งได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น
2. ความสัมพันธ์แบบ One to Many คือความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลตัวหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง
3. ความสัมพันธ์แบบ Many to Many คือความสัมพันธ์ซึ่งข้อมูลหนึ่งมีหลายค่า และมีความสัมพันธ์กับข้อมูลตัวอื่นได้หลายอย่าง

ประเภทของการออกแบบฐานข้อมูล
1. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีลักษณะเป็นลำดับชั้นคล้ายคลึงกับความสัมพันธ์ของโครงสร้างสายการบังคับบัญชาที่พบในองค์ทั่วไปโดยมีลำดับชั้นลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้น ๆ ข้อมูล ที่ใช้ฐานข้อมูลลำดับชั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบ one to one หรือ one to many เท่านั่น
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย คล้ายกับฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แต่ข้อมูลมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ many to many เท่านั่น
3. ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ ใช้ตารางเพื่อเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียน ตารางเหล่านี้เรียกว่า ตารางความสัมพันธ์ การออกแบบ
ฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์จะประกอบด้วยตารางที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักหลาย ๆ ตาราง แต่ละแถวแนวนอนเรียกว่า row ในตารางจะบรรจุข้อมูลเป็นชุด ๆ เรียกว่า record ข้อมูล 1 ชนิดในแต่ละชุดเรียกว่า field

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น